Thursday, November 24, 2016

เกี่ยวกับ "สวนหิน (Rock Garden LPRU)"



"การจัดทำเว็บไซต์ "Rock Garden LPRU" อันมีเป้าประสงค์หลักในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ "แร่ประกอบหิน" และจำแนกหมวดหินภายในสวนหิน มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง ได้แก่ หินอัคนี หินชั้น และหินแปร ซึ่งการเผยแพร่ข้อมูลผ่านระบบสารสนเทศเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สามารถสร้างความสะดวกและการเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น"

รู้จักกับสวนหิน??
"สวนหิน" ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังของตึกคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง ภายในบริเวณสวนหินร่มรื่นไปด้วยร่มไม้ ตรงกลางสวนมีโต๊ะหินอ่อนตั้งอยู่ทั่วบริเวณ และบริเวณโดยรอบประดับประดาไปด้วยหินหลากชนิดที่ได้มาจากการนำตัวอย่างหินมาศึกษา ของนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา นอกจากสวนหินจะเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของนักศึกษา และบุคคลทั่วไปแล้ว ยังเป็นแหล่งศึกษาทางด้านธรณีวิทยาหรือ แหล่งศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของหินจากตัวอย่างหินที่เป็นหินที่พบในบริเวณภาคเหนือตอนบน โดยเฉพาะในจังหวัดลำปาง ซึ่งหินแต่ละชนิดที่ถูกจัดวางไว้อย่างสวยงามจะมีป้ายข้อมูลเบื้องต้นกำกับให้ผู้เยี่ยมชมได้รูัจักและได้ความรู้ทางธรณีวิทยาในเบื้องต้น

ภาพบรรยากาศบริเวณสวนหิน







จัดทำโดย
1. นายทศพล  กรรณิกา รหัสนักศึกษา 57181100115
2. นายธีรเกียรติ์  ขันคำ รหัสนักศึกษา 57181100121
3. นายชัยญานุวัฒน์  แหลมมาก รหัสนักศึกษา 57181100209
4. นางสาวมาริษา  อายุยืน รหัสนักศึกษา 57181100222
5. นายศักดิ์สิทธิ์  ลึแฮ รหัสนักศึกษา 57181100231
6. นางสาวศิริพร  สุขคำนึง รหัสนักศึกษา 57181100234

สาขาวิชาสังคมศึกษา ครุศาสตร์บัณฑิต (ค.บ.5ปี)
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง

แร่ประกอบหิน


หิน ได้แก่ของแข็งที่ประกอบขึ้นด้วยแร่ตั้งแต่หนึ่งชนิดขึ้นไป ตัวอย่างเช่น หินปูน ประกอบด้วยแร่เพียงอย่างเดียว คือ แร่แคลไซต์ หินแกรนิต ประกอบด้วยแร่หลายชนิด เช่น แร่ควอร์ตซ์ เฟลด์สปาร์  ไมก้า และแร่อื่นๆ ส่วนสารประกอบที่เกิดจากการรวมตัวของธาตุแต่อาจจะมีแร่ที่ประกอบด้วยธาตุชนิดเดียวกันก็ได้ เช่น แร่ทองแดง ดีบุก ตะกั่ว เป็นต้น

ธาตุ + ธาตุ => แร่
แร่ + แร่ => หิน

แร่แตกต่างจากหินดังนี้
1. แร่ คือ สารประกอบทางเคมี หมายความว่า แร่แต่ละชนิดประกอบด้วยธาตุตั้งแต่หนึ่งชนิดขึ้นไปโดยมีสัดส่วนของธาตุคงที่ เช่น แร่ควอร์ตซ์ ประกอบด้วย ธาตุซิลิกอน 1 อะตอม และธาตุออกซิเจน 2 อะตอม ดังสูตรเคมี SiO2
2. โครงสร้างภายในแร่อันเกิดจากการเรียงตัวของธาตุที่ประกอบเป็นแร่นั่นๆ อย่างมีระเบียบ จะต้องเหมือนกันเสมอถ้าเป็นแร่ชนิดเดียวกัน นอกจากนี้โครงสร้างภายในที่เป็นระเบียบยังส่งผลให้แร่แต่ละชนิดมีรูปภายนอกอันเป็นลักษณะเฉพาะของแร่ชนิดนั้นๆ เรียกว่า “ผลึก”
3. คุณสมบัติ จากข้อที่ 1 และ 2 ทำให้แร่แต่ละชนิดมีคุณสมบัติทางฟิสิกส์ โดยเฉพาะตัวของมันเองทำให้มันแตกต่างจากแร่ชนิดอื่น เช่น ความแข็ง (harness) ความถ่วงจำเพาะ (specific gravity) รอยแยกเป็นแผ่นๆ (clevage) สี (color) และสีผง (streak) เมื่อแร่ถูกบดเป็นผงจะมีสีเฉพาะของมันซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นสีเดียวกับสีของแร่ก่อนที่จะถูกบด

แร่ประกอบหิน ที่สำคัญได้แก่ แร่ที่เป็นสารประกอบจำพวกซิลิเกต เช่น แร่โอลิวีน (olivine) ไมก้า (mica) ควอร์ตซ์ (quartz) จำพวกออกไซต์ เช่น แมกนีไทต์ (magnetite) ฮีมาไทต์ (hematite) พวกซัลไฟต์ (sulfide) เช่น ไพไรต์ (pyrite) กาลีนา (galena) พวกคาร์บอเนต เช่น แคลไซต์ (calcite) โดโลไมต์ (dolomite) และพวกซัลเฟต เช่น ยิบซั่ม (gypsum)
ส่วนหินมีสัดส่วนของแร่ไม่คงที่ ความแข็งของหินไม่ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะการวางตัวของสิ่งที่เป็นองค์ประกอบ หรือโครงสร้างภายในเหมือนอย่างที่เกิดขึ้นกับแร่ แต่ขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งคงทนของแร่ที่ประกอบเป็นหิน โดยเฉพาะความคงทนของแร่ที่เป็นตัวเชื่อมประสานอย่างที่มีพบอยู่ในชั้นหิน

อ้างอิง: คณาจารย์ภาควิชาภูมิศาสตร์. ภูมิศาสตร์กายภาพ. ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2543, น. 43-44

ตัวอย่างหินอัคนี : สวนหิน


หินกรวดภูเขาไฟ (Agglomerate)

หินกรวดเหลี่ยมภูเขาไฟ (Volcanic Breccia)

หินแกบโบร (Gabbro)

หินแกรนิตสีขาว (White Granite)

หินแกรนิตสีเขียว (Green Granite)

 หินแกรนิตสีดำ (Black Granite)

หินแกรนิตสีแดง (Red Granite)

หินแกรนิตสีเทา (Gray Granite)

หินแกรโนไดโอไรต์ (Granodiorite)

หินแกรโนไดโอไรต์สีชมพู (Pink Granodiorite)

หินตะกรันภูเขาไฟ (Scoria)

หินบอมบ์ภูเขาไฟ (Volcanic Bomb

หินบะซอลต์  (Basalt)

หินไบโอไทต์แกรนิต (Biotite Granite)

หินมัสโครไวท์แกรนิต (Muscovite Granite)

หินไรโอไลต์ (Ryolite)

หินเวซิคิวลาร์ บะซอลต์ (Vasicular Basalt)

หินแอนดิไซต์ (Andisite)

หินแอนดิไซต์เนื้อดอก (Porphyritic Andisite)

หินแอนดิไซต์สีขาว (White Andisite)

หินแอนดิไซต์สีเทาแกมเขียว  (Greenish Gray Andisite)

หินแอนดิไซต์สีม่วงแดง (Purple Andisite)

หินโอลิวีนบะซอลต์ (Olivine Basale)

ตัวอย่างหินแปร : สวนหิน


หินควอร์ตชีสต์ (Quartz Schist) 

หินควอร์ตซ์ไมกาชีสต์ (Quartz-mica Schist)

หินควอร์ตโซเฟลสปาร์ติกชีสต์ (Quartz-Felspartic- Schist)

หินควอร์ตไซต์เนื้อชีสต์สีเทา (Gray Schistose Quartzite)

หินควอร์ตไซต์สีนำตาล (Brown Quartzite) 

หินแคลก์ซิลิเกต (Cale-Silicate)

หินชนวนสีดำ (Black Shate)

หินชีสต์ (Schist)

หินชีสต์เนื้อฟิลไลต์ (Phylitic Schist)

หินไนส์ (Gneish)

หินฟิลไลต์ (Phylite)

หินเฟลสปาร์ติกชีสต์ (Felspartic Schist)

หินฮอร์นเฟลส์ (HornFels)

ตัวอย่างหินชั้น : สวนหิน


หินกรวดมนสีขาว (White Conglomerate)

หินกรวดมนสีแดง (Red Conglomerate)

หินกรวดมนสีน้ำตาลแกมแดง (Reddish Brown Conglomerate)

หินกรวดเหลี่ยม (Breccia)

หินกรวดเหลี่ยมเนื้อปูน (Limestone Breccia)

หินกรีนชิสต์ (Green Schist)

หินโคลน (Mudstone)

หินเชิร์ตสีดำ (Black Chert)

หินดินดานเนื้อชนวน (Slaty Shale)

หินดินดานเนื้อชมพูแกมน้ำตาล (Brownish Pink Shale)

หินดินดานเนื้อไดอะตอม (Diatomaceous Shale)

หินดินดานสีชมพู (Pink Shale)

หินดินดานสีดำ (Black Shale)

หินดินดานสีแดง (Reddish Shale)

หินดินดานสีเทา (Grayish Shale)

หินดินดานสีเทาแกมเขียว (Greenish Gray Shale)

หินดินดานสีเทาเข้ม (Dark Gray Shale)

หินดินดานสีน้ำตาลอ่อน (Light Brownish Shale)

หินดินดานสีม่วงแดง (Purple Shale)

หินไดอะทอไมต์ (Diatomite)

หินทรายแดง (Red Sandstone)

หินทรายเนื้อควอร์ตซ์ (Quartztic Sandstone)

หินทรายเนื้อทัฟฟ์ (Tuffaceous Sandstone)

หินทรายปนหินเคลย์ (Clay Sandstone)

หินทรายแป้ง (Siltstone)

หินทรายแป้งน้ำตาลแกมแดง (Reddish Brown Siltstone)

หินทรายแป้งสีเทา (Gray Siltstone)

หินทรายสีน้ำตาล (Brownish Sandstone)

หินทรายสีน้ำตาลอ่อน (Light Brown Sandstone)

หินทรายสีเหลืองแกมน้ำตาล (Brownish Yellow Sandstone)

หินปูน (Limestone)

หินปูนครินอยดัล (Crinoidal Limestone)

หินปูนเนื้อควอร์ตซ์ (Quartzitic Limestone)

หินปูนสีชมพู (Pink Limestone)

หินปูนสีดำ (Black Limestone)

หินปูนสีเทา (Light Gray Limestone)

หินปูนสีเทาเข้ม (Dark Gray Limestone)

หินปูนออนโคลิท (Oncolith Limestone)